T&V System

กรมส่งเสริมการเกษตรเริ่มก่อตั้งเมื่อปี2510 ในระยะเริ่มแรกยังไม ่มีระบบการmeงานส่งเสริม การเกษตรที่ชัดเจน จนกระทั่งปี2518 ดร.ยุกติ สาริกะภูติอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในขณะนั้น ได้นำระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน (Trainingand VisitSystem:T & VSystem) มาทดลองใช้และในปี2520 จึงนำมาเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรของ ประเทศไทย หลังจากนั้นระบบส่งเสริมการเกษตรได้มีการปรับปรุงและพัฒนามา โดยลำดับในลักษณะของการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนา เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย (Small Farmer Development Project : SFDP) โครงการส ่งเสริมการมีส่วนนร่วมของเกษตรกรในการพัฒนา (Small Farmer’s Participation Development Project : SFPP) โครงการปรับปรุงระบบแผน และพัฒนาเกษตรกร (คปพ.) โครงการปรับระบบการเกษตรในเขตชลประทานนลุ่มน้ำเจ้าพระยา โครงการสนับสนุนแผนการผลิตของเกษตรกร (ผกก.) และ โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตทางการเกษตร (คปร.) ซึ่งจะเห็นว่า ระบบส่งเสริมการเกษตรได้ปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์จำนวน 4 ครั้ง โดยยังคงยึดแนวทางของระบบ T&V กล่าวคือ แบ่งเป็นระบบปฏิบัติการหรือ ระบบการทำงานในพื้นที่ กับระบบสนับสนุนการปฏิบัติงาน โดยในปี2557 ได้นำ แนวทาง MRCF (Mapping, Remote sensing, Community Participation, Specific Field Service) มาใช้ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นแนวทาง ที่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานในช่วงเวลานั้น ระบบส่งเสริมการเกษตร (T & V System) vii ภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรต้องรับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตร ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ทำให้กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารทั้งราชการส่วนกลางและภูมิภาค ส่งผลต่อภารกิจ ตามนโยบายรัฐบาล ประกอบกับในปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรทั้งในด้าน อัตรากำลัง งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผลให้วิธีการนำองค์ความรู้/ เทคโนโลยีไปสู่เกษตรกรโดยตรงลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารมาช่วย ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากขึ้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และเกษตรกร ลดน้อยลง ดังนั้น เพื่อให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรบรรลุเป้าหมายของ การพัฒนาเกษตรกร จึงจำเป็นต้องปรับระบบการทำงานให้เกิดความชัดเจน เป็นระบบ สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้รวมทั้ง สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และนโยบายให้สอดคล้องกันภายใต้ข้อจำกัด ด้านทรัพยากร ในปี2560 กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้พัฒนาและปรับปรุงระบบ ส่งเสริมการเกษตรขึ้นใหม่ โดยนำแนวทาง T&V System ร่วมกับการส่งเสริม การเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผ่านมา นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ประกอบด้วย การถ่ายทอดความรู้การเยี่ยมเยียน การสนับสนุน การนิเทศงาน และการจัดการข้อมูล ผ่านการทดสอบระบบและการทำความเข้าใจกับนักส่งเสริม การเกษตรและผู้เกี่ยวข้องมาระยะหนึ่ง โดยคาดหวังให้เป็นระบบการทำงาน ส่งเสริมการเกษตรที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ระบบ การส่งเสริมการเกษตรจะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถ คำนึงถึงเป้าหมายหลักในการพัฒนาคือ การทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนในที่สุด อ่านต่อคลิก  ที่นี่